รายงานการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา สุขศึกษาและพลศึกษา 9 (พ 32101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนราชดำริ กรุงเทพมหานคร โดยใช้สื่อมัลติมีเดีย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาสื่อมัลติมีเดียรายวิชา สุขศึกษาและพลศึกษา 9
(พ 32101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดีย รายวิชา สุขศึกษาและพลศึกษา 9 (พ 32101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยสื่อมัลติมีเดีย รายวิชา สุขศึกษาและพลศึกษา 9 (พ 32101)
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยสื่อมัลติมีเดีย รายวิชา สุขศึกษาและพลศึกษา 9 (พ 32101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนราชดำริ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 35 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีจับฉลากเพื่อเลือกห้องเรียนที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยในครั้งนี้ประกอบด้วย 1) สื่อมัลติมีเดียรายวิชา สุขศึกษาและพลศึกษา 9 (พ 32101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนราชดำริ 2) แบบสอบถาม เรื่อง ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียรายวิชา สุขศึกษาและพลศึกษา 9 (พ 32101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 3) แบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียรายวิชา สุขศึกษาและพลศึกษา 9 (พ 32101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เครื่องมือเหล่านี้ได้ผ่านการหาคุณภาพและประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและสถิติทดสอบ t-test (dependent samples t-test) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS และคำนวณหาค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ผลการวิจัยพบว่า
1) สื่อมัลติมีเดียที่สร้างและพัฒนาขึ้นประกอบไปด้วย 5 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ 1) การวางแผนดูแลสุขภาพตนเองและบุคคลในครอบครัว 2) ทักษะการป้องกันและแก้ไขปัญหาเรื่องเพศและครอบครัว 3) การเคลื่อนไหวร่างกายในการเล่นกีฬา 4) การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชน และ 5) การป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพและความรุนแรง
2) ผลการหาประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดียตามเกณฑ์มาตรฐานเป็น 81.13 / 80.68 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพที่ผู้วิจัยกำหนดเอาไว้ และมีค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) เป็น 0.66 หรือร้อยละ 66
3) คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนแตกต่างกันกับคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนหลังเรียน ( = 22.29) สูงกว่าก่อนเรียน ( = 7.06)
4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (93.48 %) โดยองค์ประกอบด้านการจัดการเรียนการสอนมีค่าสูงที่สุด (98.29 %) รายงานผลการเลือกตั้ง อ.ก.ค.ศ. http://202.29.172.140 หรือ http://202.29.172.227/default/eletor ›
อาทิตย์, 7 กันยายน 2557
ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
คำสำคัญ: , สพฐ., แพร่, มัธยมศึกษา, ประสิทธิภาพ, กรุงเทพมหานคร
No comments:
Post a Comment