รายงานการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ระบบลำเลียงในพืชและการสืบพันธุ์ของพืช
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ระบบลำเลียงในพืชและการสืบพันธุ์ของพืช ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 (2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียน และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ระบบลำเลียงในพืชและการสืบพันธุ์ของพืช
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนไตรรัตน์วิทยาคาร อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 20 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ (1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ระบบลำเลียงในพืชและการสืบพันธุ์ของพืช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
ผลการวิจัยพบว่า (1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 เรื่องกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงระบบลำเลียงในพืชและการสืบพันธุ์ของพืชมีประสิทธิภาพ 81.33/87.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ (2) การวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างคะแนนทดสอบก่อนเรียนและคะแนนทดสอบหลังเรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีความแตกต่างของคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงระบบลำเลียงในพืชและการสืบพันธุ์ของพืช ผลรวมของความพึงพอใจในทุกๆด้านมีค่าเฉลี่ย ( = 4.57 ,S.D = 0.68) อยู่ในระดับมากที่สุด ‹ ประกาศโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย เรื่อง ยกเลิกการประกวดราคาจ้างก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 324 ล/55-ก ด้วยระบบอิเล้กทรอนิกส์ สอบราคาจ้างปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน แบบ ป.๑ ก โรงเรียนบ้านบางติบ ›
ดร.ไพศาล ปันแดน ผอ.สพป.สุพรรณบุรี เขต 3
ดร.ไพศาล ปันแดน
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 วุฒิการศึกษา ศษ.บ.(สังคมศึกษา,บริหารการศึกษา), ศศ.ม.(ไทยคดีศึกษา), ปร.ด.(สิ่งแวดล้อมศึกษา) ประวัติการรับราชการ
พ.ศ. 2527 ครู 2 โรงเรียนบ้านโนนเที่ยง จังหวัดกาฬสินธุ์
พ.ศ. 2530 อาจารย์ 1 โรงเรียนภูฮังวิทยาคาร จังหวัดกาฬสินธุ์
พ.ศ. 2534 นักวิชาการศึกษา สำนักงานศึกษาธิการอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
พ.ศ. 2537 ผู้ช่วยศึกษาธิการอำเภอ สำนักงานศึกษาธิการอำเภอหนองม่วงไข่
อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ อำเภอศรีนคร อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
พ.ศ. 2544 ศึกษาธิการอำเภอ สำนักงานศึกษาธิการอำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก
พ.ศ. 2546 หัวหน้ากลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพืันที่การศึกษาตาก เขต 1
พ.ศ. 2549 ปฏิบัติหน้าที่ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 1
พ.ศ. 2550 รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 1
พ.ศ. 2553 รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขตพ1
พ.ศ. 2557 ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 เหรียญ/เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ
1. จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.) 2. จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)
3. ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.) 4. ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
5. ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.) 6. ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
7. เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 2 7. เหรียญจักรพรรดิมาลา การศึกษาดูงานต่างประเทศ
ประเทศญี่ปุ่น ประเทศมาเลเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศกัมพูชา ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ประเทศอินเดีย ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ผลงาน/รางวัลดีเด่นที่เกิดจาการปฏิบัติหน้าที่
พ.ศ. 2538 เกียรติบัตร "ข้าราชการตัวอย่าง" สำนกังานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2539 เกียรติบัตรการบริหารสำนักงานฯ "รางวัลดีเด่นอันดับ 2 ระดับประเทศ" (สป.)
พ.ศ. 2552 รางวัลเชิดชูเกียรติ "เข็มคุรุสดุดี" (คุรุสภา)
พ.ศ. 2554 รางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ทางด้านการศึกษา (สกสค.)
พ.ศ. 2554 รางวัลหนึ่งแสนครูดี (คุรุสภา)
พ.ศ. 2554 รางวัลทรงคุณค่า สพฐ. (OBEC AWARDS) ด้านบริหารจัดการ (เหรียญทอง) (สพฐ.)
พ.ศ. 2555 รางวัลยกย่อง "นักสิ่งแวดล้อมศึกษาดีเด่น" (สมาคมสิ่งแวดล้อมศึกษาแห่งประเทศไทย)
พ.ศ. 2556 รางวัลบุคคลดีเด่นด้านการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา (กระทรวงศึกษาธิการ)
พ.ศ. 2556 รางวัลทรงคุณค่า สพฐ. (OBEC AWARDS) ด้านวิชาการ (เหรียญทอง) (สพฐ.)
ส่งเสริมเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาสู่รางวัล พระราชทาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ปีการศึกษา 2553-2554
การประเมินโครงการ ส่งเสริมเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาสู่รางวัล
พระราชทาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2
ปีการศึกษา 2553-2554
ผู้ประเมิน นายนคร เทพหนู
รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 บทคัดย่อ การประเมินโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม ประเมินปัจจัยนำเข้า ประเมินกระบวนการ และเพื่อประเมินผลผลิตโครงการส่งเสริมเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาสู่รางวัลพระราชทาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ปีการศึกษา 2553-2554 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการ คือ คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 จำนวน 15 คน คณะกรรมการดำเนินงานตามโครงการ จำนวน 30 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาที่ขอรับการประเมินเพื่อรับรางวัลพระราชทาน จำนวน 133 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษาของสถานศึกษาที่ขอรับการประเมินเพื่อรับรางวัลพระราชทาน จำนวน 240 คน นักเรียนในสถานศึกษาที่ขอรับการประเมินเพื่อรับรางวัลพระราชทาน จำนวน 405 คน และผู้ปกครองของนักเรียนที่กำลังศึกษาในสถานศึกษาที่ขอรับการประเมินเพื่อรับรางวัลพระราชทาน จำนวน 405 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บและรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับความเหมาะสมด้านสภาพแวดล้อม แบบสอบถามเกี่ยวกับความเหมาะสมด้านปัจจัยนำเข้า แบบสอบถามเกี่ยวกับความเหมาะสมด้านกระบวนการ แบบบันทึกผลการประเมินนักเรียน แบบบันทึกผลการประเมินสถานศึกษาเพื่อรับรางวัลพระราชทาน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และแบบสอบถามความพึงพอใจของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน และผู้ปกครองของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินงานโครงการ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ
ผลการประเมินโครงการส่งเสริมเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา สู่รางวัลพระราชทาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ปีการศึกษา 2553-2554 ปีการศึกษา 2553โดยภาพรวมพบว่า ด้านสภาพแวดล้อมมีความเหมาะสมสอดคล้องอยู่ในระดับมาก ( = 3.91, = 0.26 ) สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ด้านปัจจัยนำเข้า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.38, = 0.18) สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ด้านกระบวนการมีความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก ( , = 4.09, , S.D = 0.70 )และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ด้านผลผลิตพบว่า คุณภาพนักเรียนการดำเนินงานโครงการอยู่ในระดับดีมาก ( = 3.75) สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คุณภาพสถานศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาการดำเนินงานโครงการอยู่ในระดับดีมาก ( = 3.67) สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คุณภาพสถานศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาการดำเนินงานโครงการอยู่ในระดับดีมาก ( = 3.77) สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และด้านความพึงพอใจโดยภาพเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( , = 4.25, , S.D.= 0.44) สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดเช่นเดียวกัน ปีการศึกษา 2554 โดยภาพรวมพบว่า ด้านสภาพแวดล้อมมีความเหมาะสมสอดคล้องอยู่ในระดับมาก ( = 3.96, = 0.16 ) สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ด้านปัจจัยนำเข้ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.42, = 0.15 ) สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ด้านกระบวนการ มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก ( , = 4.09, , S.D.= 0.70 ) และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ด้านผลผลิตพบว่า คุณภาพนักเรียนการดำเนินงานโครงการอยู่ในระดับดีมาก ( = 3.74) สูงกว่าเกณฑ์ ที่กำหนด คุณภาพสถานศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาการดำเนินงานโครงการอยู่ในระดับดีมาก ( = 3.72) สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คุณภาพสถานศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาการดำเนินงานโครงการอยู่ในระดับดีมาก ( = 3.84) สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และด้านความพึงพอใจโดยภาพเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( , = 4.27, , S.D.= 0.40) สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดเช่นเดียวกัน
9 ธันวาคม 2557
ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
คำสำคัญ: , ตาก, สพป., สพฐ., แพร่, พัทลุง, สุโขทัย, กาฬสินธุ์, มัธยมศึกษา, นครราชสีมา, สุพรรณบุรี, ประถมศึกษา, วิทยาศาสตร์, ประสิทธิภาพ
No comments:
Post a Comment