เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ งานวิจัย เรื่องการศึกษาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ นายชาตรี ลักษณะศิริ
งานวิจัย เรื่องการศึกษาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ นายชาตรี ลักษณะศิริ
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านภาษา อังกฤษเพื่อความเข้าใจ เจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ โดยการจัดกิจกรรมเสริมการอ่านภาษาอังกฤษแบบโครงงาน กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนทุ่งมหาเมฆ สำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ได้จากวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยวิธีการจับฉลาก 1 ห้องเรียน จาก 4 ห้องเรียน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) จำนวน นักเรียน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมเสริมการอ่านภาษาอังกฤษแบบโครงงาน ใช้เวลา 10 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง โดยใช้ชั่วโมงโครงงานและชั่วโมงกิจกรรมรักการอ่าน รวมทั้งหมด 20 ชั่วโมง ตรวจความเหมาะสมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านภาษา อังกฤษเพื่อความเข้าใจ ใช้ก่อนและหลังการทดลอง ลักษณะคำถามเป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก โดยมีค่าความยาก ตั้งแต่ 0.30-0.67 และค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.31-0.77 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ .89 แบบสอบถามวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ มีลักษณะเป็นมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) คือ .88 แบบประเมินคุณภาพโครงงาน มีลักษณะเป็นมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) คือ .86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังทดลองจัดกิจกรรมเสริมการอ่านภาษาอังกฤษแบบโครงงาน สูงกว่า ก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. เจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังทดลองจัดกิจกรรมเสริมการอ่านภาษาอังกฤษแบบโครงงาน สูงกว่า ก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลัง ทดลอง (ภาคเรียนที่ 2) สูงกว่าก่อนทดลอง (ภาคเรียนที่ 1) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 รายงานการประเมินโครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปร ›
สพม. 29 นำคณะข้าราชการศึกษาดูงานวัดบ้านไร่ วัดสวนแก้ว และสถาบันปัญญาภิวัฒน์
สพม. 29 นำคณะข้าราชการศึกษาดูงานวัดบ้านไร่ วัดสวนแก้ว และสถาบันปัญญาภิวัฒน์ ในระหว่างวันที่ 23 - 25 กันยายน 2557 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 (อุบลราชธานี – อำนาจเจริญ) โดย กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา ร่วมกับ โรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัด นำโดย นายประวิทย์ หลักบุญ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 (อุบลราชธานี – อำนาจเจริญ), นายสุมิตร เสนสม ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา, นายปัญญา แพงเหล่า ผู้อำนวยการกลุ่มอำนวยการ, นายสรศิลป์ นามมณี ผู้อำนวยการโรงเรียนหนองบ่อสามัคคีวิทยา, นายประจักษ์พงษ์ วรรณโชติ รองผู้อำนวยการโรงเรียนลือคำหาญวารินชำราบ พร้อมคณะ ได้จัดทำและดำเนินการตามโครงการพัฒนาจิตสำนึกในการปฏิบัติงานศึกษาดูงานในหน้าที่และการให้บริการของบุคลากร และโครงการเขตสุจริต และโรงเรียนสุจริต ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัด ประจำปีงบประมาณ 2557 จำนวน 30 คน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำเอาสิ่งที่มีคุณค่านำไปปรับปรุงและพัฒนา การปฏิบัติงานให้มีความสุข เกิดความสำเร็จและสร้างคุณูปการสำหรับทุกฝ่ายต่อไป ซึ่งได้เข้าพัก ที่โรงแรมเดอะริช ตำบลบางไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี โดยใช้โดยรถปรับอากาศสองชั้น เป็นพาหนะ ในการเดินทาง ไป – กลับ โดยสวัสดิภาพแล้ว ในการนี้ ได้เข้ากราบนมัสการรูปหล่อ ภาพถ่าย ภาพวาด เครื่องอัฐบริขาร พระเครื่อง วัตถุมงคล ร่วมอนุโมทนา และเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ ท่านเจ้าคุณพระเทพวิทยาคม หรือ หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เจ้าอาวาส วัดบ้านไร่ ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา แล้วเข้าเยี่ยมชมโครงการเศรษฐกิจพอเพียง และเข้ากราบมนัสการ พร้อมรับฟังการแสดงพระธรรมเทศนา จาก ท่านเจ้าคุณพระราชธรรมนิเทศ หรือ หลวงพ่อพระพะยอม กัลยาโณ เจ้าอาวาสวัดสวนแก้ว ภายในวัดสวนแก้ว หมู่ที่ 1 ตำบลบางเลน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี พร้อมร่วมกันอนุโมทนา โดย มี นายพีระศักดิ์ หินเมืองเก่า อธิบดีกรมที่ดิน พร้อมคณะ เข้าร่วมกราบมนัสการและถวายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรณีพิพาทเรื่องงานที่ดินของวัดสวนแก้ว ด้วย โดยมี คุณกชวรรณ รามัญอุดม เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์และแผนกวารสาร วัดสวนแก้ว พร้อมคณะ ให้การต้อนรับและนำเยี่ยมชมกิจกรรมภายในวัดสวนแก้ว แล้วนั่งเรือข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปกราบพระประธานภายในพระอุโบสถวัดปรมัยยิกาวาส พระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร และศึกษาดูงานภายในเกาะเกร็ด ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ซึ่งแต่เดิมชื่อวัดปากอ่าว มีอายุกว่า 200 ปี เป็นวัดรามัญหรือวัดชาวมอญในประเทศไทย มาตั้งครั้งโบราณกาล เรียกตามภาษารามัญ ว่า เกี่ยมุเกี๊ยะเติ้ง แปลว่า วัดหัวแหลม ตั้งอยู่ในเกาะเกร็ด ซึ่งเป็นเกาะขนาดใหญ่อยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา มีพื้นที่ประมาณ 2,820 ไร่ มีสถานะเป็นตำบล เดิมไมได้เป็นเกาะ แต่เป็นส่วนของแผ่นดินรูปโค้งลักษณะเป็นแหลมยื่นไปตามความโค้งของแม่น้ำเจ้าพระยา มีชื่อเรียกมาแต่ก่อนว่า บ้านแหลม ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดผ้าพระกฐิน พระราชทาน ณ วัดปากอ่าว ครั้นเมื่อเสด็จพระราชทานผ้าพระกฐินแล้ว เสด็จพระราชดำเนินรอบพระอารามแห่งนี้ แล้วทรงเห็นว่า วัดแห่งนี้ตั้งอยู่ในทำเลที่ดีแต่ทรุดโทรมกว่าพระอารามอื่นๆ จึงทรงมี พระราชศรัทธาที่จะสถาปนาให้ดีขึ้น เพื่อสนองพระเดชพระคุณ พระเจ้าบรมมหัยยิกาเธอ กรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร ผู้ทรงอนุบาลเลี้ยงดูพรราชมารดา และพระองค์แต่ยังทรงพระเยาว์ ถวายเป็นการเฉลิมพระเกียรติ จึงทรงตรัสพระราชดำรัสที่จะปฏิสังขรณ์พระอารามนี้ แก่พระคุณวงศ์ (สน) เจ้าอาวาส แล้วเริ่มปฏิสังขรณ์วัดปากอ่าว เมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีจอ ฉศก จุลศักราช 1236 เรื่อยมาจนเสร็จสมบูรณ์ จึงมีหมายกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินไปประกอบพิธีพระราชกุศล แล้วทรงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามพระอารามนี้ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติยศ พระบรมมหัยยิกาเธอ กรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร ว่า "วัดปรมัยยิกาวาศ" (บรม+อัยยิกา+อาวาศ)
แปลว่า วัดของยาย ภายหลังเขียนเป็น "วัดปรมัยยิกาวาส" ที่เป็นแหล่งวัฒนธรรมเก่าแก่ ที่ยังมีชีวิต ทรงคุณค่าหลากหลาย เรียบง่าย และงดงาม เป็นที่สุด จากนั้น เดินทางไปศึกษาดูงานและรับฟังการบรรยายพิเศษ เรื่อง "เทคนิคการให้บริการที่ประทับใจ" ที่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ หรือ PIM (PANYAPIWAT INSTITUE OF MANAGEMENT) เลขที่ 85 หมู่ที่ 2 ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ที่เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในเครือบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นของคณะผู้ประกอบกิจการภาคเอกชน แห่งแรกในประเทศไทย ที่เป็น CORPORATE UNIVERSITY หรือ สถาบันการศึกษาที่มีความเชื่อมโยงกับธุรกิจ และการสร้างเครือข่ายกับสถาบันต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ (NETWPRKING UNIVERSITY)ที่สามารถผลิตบุคลากรที่ตรงกบความต้องการขององค์กรและตลาดแรงงาน และถ่ายทอดองค์ความรู้ไปสู่ระบบปฏิบัติการได้โดยตรงที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่ง ภายใต้ปรัชญา "แตกต่างอย่างมืออาชีพ" มีศักดิ์และสิทธิ์เทียบเท่ามหาวิทยาลัยของรัฐบาล โดยได้รับความกรุณาอย่างดียิ่ง จาก คุณธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์, คุณก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน), คุณปิยะวัฒน์ ฐิตะสัทธาวรกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และ รศ. ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ได้กรุณามอบหมายให้ รศ. ดร.พิชิต ฤทธิ์จรูญ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์, อาจารย์จารุววรรณี สุภัทโร, อาจารย์อินท์ชลิตา เศรษฐ์พุฒิบวร เจ้าหน้าที่การตลาดและประชาสัมพันธ์, อาจารย์ภาคภูมิ ชัวเกษม เจ้าหน้าที่อาวุโสสำนักสื่อสารองค์กร สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ พร้อมคณะ เป็นผู้แทนให้การต้อนรับ, ประชาสัมพันธ์, บรรยายพิเศษ, นำเยี่ยมชม และศึกษาดูงานกิจกรรมการดำเนินงานภายในสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ หลากหลายประการ ด้วยความประทับใจและเป็นมิตรไมตรีที่ดีงามระหว่างกัน .............................
นายปัญญา แพงเหล่า ผู้อำนวยการกลุ่มอำนวยการ
นายศักดิ์ระพี สีมาวัน นักประชาสัมพันธ์ชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มงานประชาสัมพันธ์
นายวรุท เกษเพ็ชร์ ลูกจ้างชั่วคราว , นายสุรสีห์ หมั่นคง พนักงานขับรถ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 (อุบลราชธานี – อำนาจเจริญ)
โทรศัพท์ 045 – 422186, 045 - 323910, 081 – 265 7046 โทรสาร 045 – 422185
www.secondary29.go.th e-mail:neenoy11@gmail.com FACEBOOKศักดิ์ระพี สีมาวัน line:0812657046 บันทึกภาพ วันที่ 23 – 25 กันยายน 2557 …. งายงานข่าว วันเสาร์ที่ 27 กันยายน 2557
(ประมวลภาพกิจกรรมส่วนใหญ่ จะจัดส่งและขอเชิญติดตามหรือดาวน์โหลดเพิ่มเติม
ได้ที่ e-mail:neenoy11@gmail.com และหรือ FACEBOOKศักดิ์ระพี สีมาวัน)
27 กันยายน 2557
ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
คำสำคัญ: , สพฐ., แพร่, นนทบุรี, ความรู้, มัธยมศึกษา, ภาษาอังกฤษ, นครราชสีมา, ประถมศึกษา, อำนาจเจริญ, ศึกษาศาสตร์, อุบลราชธานี, มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร, เศรษฐกิจพอเพียง
No comments:
Post a Comment