ภารกิจ รมช.ศธ.พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ ตรวจเยี่ยมโรงเรียนบ้านห้วยกูด
เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559 พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์รัฐบาลในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อติดตามการดำเนินงานการจัดการเรียนการสอนตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ของกระทรวงศึกษาธิการ และ ระบบการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (Distance Learning Television : DLTV) เยี่ยมชมแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ภายในโรงเรียนและชมการแสดงการตีกลองสะบัดชัยของนักเรียน ณ โรงเรียนบ้านห้วยกูด สังกัด สพป.แพร่ เขต 2 ซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็กที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ มีนักเรียน จำนวน 59 คน จัดการศึกษา 2 ระดับ ระดับก่อนประถมศึกษา และระดับประถมศึกษา นอกจากนี้ พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ ได้มอบเงินในการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการตัดผมให้กับนักเรียนเพื่อฝึกวิชาชีพแก่นักเรียนและเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการตัดผม โดยมี นายวันชาติ บัวสิงห์ ผอ.สพป.แพร่ เขต 2 , นายชยพล นักระนาด ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้วยกูด, คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาให้การต้อนรับ
นางนงค์นุช ประดับ นักประชาสัมพันธ์ชำนาญการ/ภาพข่าว
การพัฒนาเอกสารประกอบการสอนกิจกรรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ หลักสูตรเครื่องหมายลูกเสือหลวง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ชื่อเรื่อง การพัฒนาเอกสารประกอบการสอนกิจกรรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ หลักสูตรเครื่องหมายลูกเสือหลวง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ปีการศึกษา 2557
สถานศึกษา โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย จังหวัดนครพนม บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อสร้างเอกสารประกอบการสอนกิจกรรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ หลักสูตรเครื่องหมายลูกเสือหลวง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการสอนกิจกรรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
หลักสูตรเครื่องหมายลูกเสือหลวง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่าง ก่อนเรียนกับหลังเรียน 3) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนการสอนด้วยเอกสารประกอบการสอนกิจกรรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ หลักสูตรเครื่องหมายลูกเสือหลวง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กองที่ 2 จำนวน 40 คน โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ( Purposive Sampling ) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 1) เอกสารประกอบการสอนกิจกรรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ หลักสูตรเครื่องหมายลูกเสือหลวง ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 จำนวน 6 ชุด 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กิจกรรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ หลักสูตรลูกเสือหลวง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 30 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนโดยใช้เอกสารประกอบการสอนกิจกรรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ หลักสูตรเครื่องหมายลูกเสือหลวง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 40 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลของการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t - test ชนิด Dependent Samples
ผลการศึกษา พบว่า
1. ผลการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการสอนกิจกรรมลูกเสือ สามัญรุ่นใหญ่ หลักสูตรเครื่องหมายลูกเสือหลวง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ตามเกณฑ์คุณภาพ 80/80 พบว่า คะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบหลังเรียนในแต่ละเล่มของเอกสารประกอบการสอนกิจกรรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ หลักสูตรเครื่องหมายลูกเสือหลวง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 8.22 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน หรือคิดเป็นร้อยละ 82.20 คะแนนแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน มีค่าเท่ากับ 24.18 คะแนน จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 80.60 และประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการสอนกิจกรรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ หลักสูตรเครื่องหมาย ลูกเสือหลวง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ E1/E2 เท่ากับ 82.20/80.60 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยเอกสารประกอบการสอนกิจกรรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ หลักสูตรเครื่องหมาย
ลูกเสือหลวง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน พบว่าคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการสอนกิจกรรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ หลักสูตรเครื่องหมายลูกเสือหลวง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. ผลการวัดความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบการสอนกิจกรรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ หลักสูตรเครื่องหมายลูกเสือหลวง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
พบว่าความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการสอนกิจกรรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ หลักสูตรเครื่องหมายลูกเสือหลวง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับมาก รับสมัครครูสอนภาษาจีนอนุบาล ›
20 กุมภาพันธ์ 2559
ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
คำสำคัญ: , สพป., สพฐ., แพร่, นครพนม, รัฐมนตรี, ประถมศึกษา, มัธยมศึกษา, ประสิทธิภาพ, การศึกษาทางไกล
No comments:
Post a Comment