Sunday, January 10, 2016

ตัวแทนสภานักเรียนนำเสนอแนวทางการแก้ไข๕ปัญหาหลักของสังคมให้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกาษาธิการ

***จากการที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้จัดประชุมสัมมนาสภานักเรียนระดับประเทศ ประจำปี 2559 ระหว่างวันที่ 6-10 มกราคม 2559 ณ เดอะไพน์ รีสอร์ท จังหวัดปทุมธานี โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาเป็นตัวแทนสภานักเรียน จากโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนต้นแบบสภานักเรียนระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และโรงเรียนที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนากิจกรรมสภานักเรียนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีโรงเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 43 โรงเรียน เป็นนักเรียนโรงเรียนละ 2 คน ครูที่ปรึกษา 1คน รวมทั้งสิ้น 129 คน โดยจัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการสภานักเรียน ระดับประเทศ ประจำปี 2559 และจัดประชุมสภานักเรียนเพื่อสรุปข้อคิดเห็นและแนวทางการแก้ไขปัญหาสังคมเพี่อที่นำเสนอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกาษาธิการ (พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ) โดยในวันที่ 9 มกราคม 2559 ณ ห้องราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ ตัวแทนสภานักเรียนได้นำเสนอข้อคิดเห็นในการแก้ไขปัญหาสังคม จำนวน 5 ประเด็น ดังนี้

1.ประเด็นปัญหาความรุนแรงทางสังคม

ปัจจุบันสังคมไทยเรามีปัญหามากมายซึ่งปัญหาที่พบส่วนใหญ่คือ ครอบครัวแตกแยกหย่าร้าง การควบคุมอารมณ์ของแต่ละคน การทะเลาะวิวาทของนักเรียนต่างโรงเรียนความแตกต่างของฐานะและการศึกษา การคุกคามทางเพศ รวมทั้งการเลียนแบบสื่อต่างๆ ที่เผยแพร่ในสังคม

แนวทางการแก้ไข 1. สร้างควสามเข้าใจกับผู้ปครองที่จะไม่ให้นักเรียนเผชิญเหตุการณ์ความรุนแรงภายใสครอบครัว 2. ตวรมีมาตรการในการลดปัญหาทะเลาะวิวาท ด้วยการจัดกิจกรรมสานสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียน เช่นสร้างศูนย์เครือข่ายโรงเรียน จัดกิจกรรมกีฬาเครือข่าย จัดค่ายส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม เป็นต้น 3. สร้างความเข้มแข็งระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เช่น มีการเยี่ยมบ้านนักเรียนให้ทั่วถึงครบทุกคน ต่อเนื่อง สม่ำเสมอ 4. ประสานงานองค์กร และหน่วยงานอื่นในการให้ความรู้และส่งเสริมการฝึกทักษะอาชีพ 5.เสริมสร้างนักเรียนให้มีวิจารณญาณในการเลือกรับสื่อและข่าวสารที่อาจก่อให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม 6.ส่งเสริมให้สื่อแขนงต่างๆ นำเสนอข่าวเชิงสร้างสรรค์ของสังคม แทนการนำเสนอข่าวอาชญากรรมหรือการทะเลาะวิวาท

2. ประเด็นปัญหายาเสพติดและพฤติกรรมเสี่ยง

นักเรียนมีความอยากรู้อยากลองในสิ่งที่เพื่อนชักชวน ด้วยความรู้เท่าที่ไม่ถึงการณ์จึงทำให้พลาดพลั้งเข้าไปยุ่งกับยาเสพติด ส่งผลให้นักเรียนขาดเรียน เรียนไม่ทัน ผลการเรียนตกต่ำ และอาจมีพฤติกรรมเสี่ยงและไม่เหมาะสม

แนวทางการแก้ไข 1. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดกิจกรรมรณรงค์และเสริมสร้างความรู้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้นักเรียนมีทักษะในการปฏิเสธไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด

2. ควรมีการกำหนดบทลงโทษนักเรียนที่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดมห้เด็ดขาด เพื่อให้นัดเรียนที่มีความเสี่ยงเกิดความเกรงกลัวไม่กล้าเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด

3. สร้างความเข้าในกับผู้ปกครองนักเรียนเพื่อชี้แจงถึงบทลงโทษของโรงเรียนสำหรับนักเรียนที่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด

4. ควรนำกฎหมายมาใชัในสถานศึกษาอย่างเคร่งครัด

3.ประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งมี 2 ประเด็นย่อย คือ

1. ปัญหาขยะ ซึ่งเกิดจากการขาดจิตสำนึก ความมักง่ายทิ้งขยะไม่ถูกที่ ปัญหามลพิษส่งกลิ่นเหม็น ส่งผลให้เกิดปัญหาในสังคม ลุกลามไปถึงเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของประเทศ

แนวทางแก้ไข คือกำหนดมาตรการหรือกำหนดกฎกติการ่วมกันในการสร้างจิตสำนึกโดยสภานักเรียนเป็นผู้นำในการสร้างจิตสำนึก เช่น เริ่มต้นที่ตัวเองเป็นตัวอย่างให้รุ่นน้อง จัดค่ายให้ความรู้สำนึกให้รุ่นน้อง จัดทำโครงการขยะ

2. ปัญหาการบุกรุกและตัดไม้ทำลายป่า มีการบุกรุกป่าสงวน การค้าไม้เถื่อน ทำให้พื้นฐานป่าของประเทศลดลง มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม

แนวทางแก้ไข

2.1 สร้างจิตสำนึกรักษ์ป่า โดยการอบรมให้ความรู้ รณรงค์ปลูกป่า จัดตั้งกลุ่ม LINE อาสาพิทักษ์ป่าไม้ เป็นต้น

2.1 การทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีและขยายสู่ผู้อื่น

2.2 บังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติให้เด็ดขาด

4.ประเด็นที่ปัญหาการศึกษา การเรียนการสอนในปัจจุบันมีปัญหาหลายประการ เช่น

1. การจัดการเรียนการสอนของครูเน้นตามมาตรฐานตัวชี้วัด และเวลาสอบข้อสอบออกเกินหลักสูตร นักเรียนที่สอบแข่งขันจึงต้องเรียนพิเศษ

2. โรงเรียนมุ่งเน้นส่งเสริมการเรียนการสอนและสนับสนุนงบประมาณให้สายวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มากกว่าสายอื่น ๆ

3. ครูมีภาระงานมาก ไม่ค่อยมีเวลาดูแลนักเรียนเท่าที่ควร มีเวลาสอนไม่เต็มที่

5. การคัดเลือกนักเรียนเพื่อเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน มีการสอบหลายจำนวนมาก ส่งผลให้นักเรียนไม่มีเวลาในการเตรียมสอบ มีค่าใช้จ่ายมาก

6. นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 – 3 อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้

แนวทางแก้ไข

1. กำหนดให้ข้อสอบเป็นไปตามหลักสูตร

2. ควรให้ความสำคัญกับทุกกลุ่มสาระอย่างเท่าเทียมกัน

3. บรรจุครูหรือจ้างบุคลากรเพิ่มให้กับโรงเรียน

4. ลดกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะนำครูออกนอกห้องเรียน เช่น การประกวด การประเมินต่าง ๆ 5. ปรับแนวการสอบ NT O-NET ว่าเป็นการกระตุ้นให้โรงเรียนเกิดการพัฒนา 6. การคัดเลือกนักเรียนเพื่อเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน มีการสอบหลายจำนวนมาก ส่งผลให้นักเรียนไม่มีเวลาในการเตรียมสอบ มีค่าใช้จ่ายมาก

ประเด็นที่ 5 การเรียนการสอนตามนโยบาย 1. นโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ 1.1 การกำหนดให้โรงเรียนนำไปปฏิบัติเหมาะสมกับการจัดกิจกรรมสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาตอนต้น แต่ไม่เหมาะสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เพราะเนื้อหาที่นักเรียนต้องเรียนมีมาก 1.2 ได้เรียนรู้และลงมือปฏิบัติจริง กิจกรรมมีความหลายหลาย 2. นโยบายซ้ำชั้น สภานักเรียนมีความคิดเห็นว่า การให้ซ้ำชั้นในชั้น ป.3 ป.6 และ ม.3 มีความเหมาะสม เพราะเป็นการให้โอกาสพัฒนาตนเอง

10 มกราคม 2559

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

คำสำคัญ: , สพฐ., แพร่, ความรู้, ปทุมธานี, รัฐมนตรี, ประถมศึกษา, คณิตศาสตร์, มัธยมศึกษา, มหาวิทยาลัย, วิทยาศาสตร์

No comments:

Post a Comment