สพป.ร้อยเอ็ด เขต 3 จัดประชุมเตรียมความพร้อมพัฒนานวัตกรรมการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 กลุ่มศึกษานิเทศก์ ได้จัดประชุมเตรียมความพร้อมพัฒนานวัตกรรมการศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน โดยมีนายสินสมุทร แสนสุข อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 เป็นประธานในพิธี ผู้กล่าวรายงาน นายวิชประสิทธิ์ พันธ์ศรี รอง ผอ.สพป.ร้อยเอ็ด เขต 3 การประชุมครั้งนี้เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากผู้ประสบความสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรม และกิจกรรมการศึกษา จนเป็นเลิศ สามารถเป็นตัวแทนระดับภูมิภาค ก้าวสู่ระดับประเทศจำนวน 4 ท่านได้แก่1.นายจำรัส ธงทอง ครูโรงเรียนบ้านสะอาด (สะอาดวิทยาคาร) เจ้าของรางวัล Obec Awards เหรียญทอง อันดับ 1 ของประเทศ ปี 2555 และ 2556 เข้าชิงรางวัลทรงคุณค่า สพฐ. Obec Awards ด้านนวัตกรรมการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ เป็นปีที่ 3 ต่อเนื่องกัน2.นางจุฑาธิป ศรีสถิต ครูโรงเรียนบ้านหัวคู เข้าชิงรางวัลทรงคุณค่า สพฐ. Obec Awards ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ระดับมัธยมศึกษา3.ว่าที่ร้อยตรีประมวล เอกวุธ เข้าชิงรางวัลทรงคุณค่า สพฐ. Obec Awards ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ระดับมัธยมศึกษา4.นางอรอนงค์ ขวาป้องใต้ ผู้อำนวยการกลุ่มตรวจสอบภายใน เข้าชิงรางวัลทรงคุณค่า สพฐ. Obec Awards ด้านการบริหารจัดการ ณ หอประชุมโรงเรีนอนุบาลโพนทอง ชมภาพทั้งหมด
การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของนางจิตสุชา นราอวิรุทธ์ ไชยเสน ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการ โรงเรียนอนุบาลปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ชื่อรายงาน รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระเสียงยาว
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
ผู้ศึกษา นางจิตสุชา นราอวิรุทธ์ ไชยเสน ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการ
สถานศึกษา โรงเรียนอนุบาลปัตตานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต ๑
ปีการศึกษา ๒๕๕๖
บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระเสียงยาว กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ตามเกณฑ์มาตรฐาน ๘๐/๘๐ ๒) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระเสียงยาวระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระเสียงยาว กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ และ ๓) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระเสียงยาว กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑/๔ โรงเรียนอนุบาลปัตตานี อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๖ จำนวน ๔๑ คน ที่เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยกับผู้รายงาน ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการ ประกอบด้วย ๑) แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระเสียงยาว ๒) แผนการจัดการเรียนรู้ ๓) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระเสียงยาว โดยมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ ๐.๙๕ และ ๔) แบบสอบถามความพึงพอใจ โดยมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ ๐.๙๕ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent Group ผลการศึกษา พบว่า
๑. แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระเสียงยาว กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ มีประสิทธิภาพ เท่ากับ ๙๔.๕๓/๙๕.๖๑
๒. ผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระเสียงยาวหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระเสียงยาว กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๐๑
๓. ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่ประสมด้วยสระเสียงยาว กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ‹ ประกาศ โรงเรียนภูเก็ตปัญญานุกูล เรื่อง สอบราคาจ้างก่อสร้างหลังคากันสาดและซ่อมแซมถนนคอนกรีต ประกาศโรงเรียนบ้านหนองน้ำแดง เรื่อง ประกวดราคาจ้างก่อสร้างอาคารเรียน สปช.๑๐๕/๒๙ (ครั้งที่ 2) ›
13 กุมภาพันธ์ 2558
ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
คำสำคัญ: , สพฐ., สพป., แพร่, ภูเก็ต, ปัตตานี, ร้อยเอ็ด, มัธยมศึกษา, ประถมศึกษา, คณิตศาสตร์, ประสิทธิภาพ
No comments:
Post a Comment