ชื่อเรื่อง การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย วิชาภาษาไทยเพิ่มเติม
(วรรณกรรมท้องถิ่น) เรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่นยลยินมหาสารคาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนสารคามพิทยาคม เขตพื้นที่การศึกษา
ปีการศึกษา 2556
บทคัดย่อ การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย วิชาภาษาไทยเพิ่มเติม (วรรณกรรมท้องถิ่น) เรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่นยลยินมหาสารคาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อสำรวจความต้องการหลักสูตรท้องถิ่นและความต้องการสาระการเรียนรู้เพื่อบรรจุในหลักสูตรท้องถิ่น 2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นและและประเมินคุณภาพหลักสูตรท้องถิ่น 3) เพื่อทดลองใช้และประเมินหลักสูตรท้องถิ่น 4) ประเมินหลักสูตรท้องถิ่นท้องถิ่นตามรูปแบบ CIPP Model
5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนการสอนตามหลักสูตรท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียนคณิต ฯ–ภาษา ผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียนคณิต ฯ–ภาษา กรรมการสถานศึกษา ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ผู้บริหารโรงเรียน อาจารย์ผู้สอนระดับอุดมศึกษา และศึกษานิเทศก์ จำนวน 116 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) หลักสูตรท้องถิ่นแผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 14 แผนจำนวน
14 ชั่วโมง (2) แบบสอบถามเพื่อสำรวจความต้องการในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น (3) แบบสอบถามเพื่อประเมินคุณภาพหลักสูตรท้องถิ่นฉบับร่างโดยผู้เชี่ยวชาญ (4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียน จำนวน 60 ข้อ (5) แบบสอบถามเพื่อประเมินหลักสูตรท้องถิ่น จำนวน 20 ข้อ และ
(6) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน จำนวน 25 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ t- test (Dependent Samples) ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. ความต้องการในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นพบว่ากลุ่มตัวอย่างเฉลี่ยร้อยละ 100 มีความต้องการหลักสูตรท้องถิ่นและมีความต้องการสาระการเรียนรู้ประเพณีบุญข้าวสาก ประเพณีบุญเบิกฟ้า พระธาตุนาดูน พระพุทธมงคลพระพุทธมิ่งเมือง หัตถกรรมบ้านหนองเขื่อนช้าง เสื่อกกบ้านแพง มันแกวบรบือ วนอุทยานโกสัมพี วนอุทยานป่าดูนลำพัน ผญา สรภัญญะ หมอลำพิธีกรรม หมอลำกลอน และหมอลำหมู่ เพื่อบรรจุในหลักสูตรท้องถิ่นในระดับมากที่สุด
2. การพัฒนาและประเมินคุณภาพหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่นยลยินมหาสารคาม พบว่า หลักสูตรท้องถิ่นฉบับร่าง ประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก ได้แก่ หลักการ จุดมุ่งหมาย โครงสร้าง แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เวลาเรียน การวัดและประเมินผล ส่วนประกอบเสริม ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ เครื่องมือวัดและประเมินผล และหลักสูตรท้องถิ่น มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. การทดลองใช้หลักสูตรท้องถิ่นครั้งที่ 1 พบว่าหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่นยลยินมหาสารคาม มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.17/89.25 ดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ 0.8446
แสดงว่า มีความก้าวหน้าด้านการเรียนรู้ 0.8446 คิดเป็นร้อยละ 84.46 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 การทดลองใช้ครั้งที่ 2 พบว่ามีประสิทธิภาพเท่ากับ 91.34/88.33 ดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ 0.8140 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าด้านการเรียน คิดเป็นร้อยละ 81.40 นักเรียนมีความสามารถในการเรียนรู้หลังเรียน
สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และได้ปรับปรุงหลักสูตรท้องถิ่นอีกครั้งให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
4. การประเมินความพึงพอใจในการเรียนรู้ตามหลักสูตร เรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่นยลยินมหาสารคาม นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
5. การประเมินหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่นยลยินมหาสารคาม ตามรูปแบบ
CIPP Model โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ งานวิจัย เรื่องการศึกษาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ นายชาตรี ลักษณะศิริ ›
เสาร์, 27 กันยายน 2557
ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
คำสำคัญ: , สพฐ., แพร่, ประเพณี, ท้องถิ่น, มหาสารคาม, ภาษาอังกฤษ, มัธยมศึกษา, ประสิทธิภาพ
No comments:
Post a Comment