ชื่อเรื่อง : รูปแบบการพัฒนาความสามารถของครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญโดยใช้การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน โรงเรียนกำแพงแสนวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9
ชื่อผู้วิจัย : นายอาคม มากมีทรัพย์
บทคัดย่อ
การพัฒนาความสามารถของครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน โรงเรียนกำแพงแสนวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการทำการพัฒนาความสามารถของครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบ การพัฒนาครูผู้สอนโดยการ ทำการพัฒนาความสามารถของครู และ 3) เพื่อประเมินผลการพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูผู้สอน
โดยการทำการพัฒนาความสามารถของครูเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเครื่องมือ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง และการแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอน เพื่อใช้สัมภาษณ์ครูผู้สอน แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อใช้สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 2) แบบสัมภาษณ์เป็นคำถามปลายเปิด 3)แบบประเมินผลการดำเนินการทำการพัฒนาความสามารถของครูผู้สอนเป็นเครื่องมือที่ใช้ประเมินผลงานวิจัยของครูผู้สอน 4) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นเครื่องมือที่ครูผู้สอนสร้างขึ้นเพื่อประเมินความสำเร็จของผู้เรียนเปรียบเทียบการพัฒนาระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 5) แบบประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อรูปแบบการพัฒนา โดยการทำการพัฒนาความสามารถของครู เพื่อประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอนในโรงเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมพัฒนาความสามารถของครู
สรุปผลการวิจัย
1. ผลการวิเคราะห์แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอน ด้านความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์ การพัฒนาความสามารถของครู ปรากฏผล ดังนี้ 1)ด้านความรู้เรื่องการพัฒนาความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า ครูผู้สอนส่วนใหญ่มีความรู้ ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนในระดับปานกลาง ด้านสาเหตุของการไม่พัฒนาความสามารถของครูนั้น พบว่า ครูส่วนใหญ่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการทำวิจัย จึงต้องการให้มีการฝึกปฏิบัติจริง โดยการอบรม 2) ผลการวิเคราะห์แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านรูปแบบเทคนิคและวิธีการในการพัฒนาครูผู้สอน พบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิส่วนใหญ่จะใช้การประชุมชี้แจง เพื่อสร้างความเข้าใจก่อนที่จะให้ครูผู้สอนเข้าอบรมปฏิบัติการ หรือศึกษาเอกสาร สำหรับกระบวนการและแนวทางในการพัฒนาครูนั้น มีการนำกระบวนการวิจัยมาประยุกต์ใช้ตามสถานการณ์ ผลที่เกิดปรากฏผลใน 3 ด้าน คือ ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านประโยชน์ที่ครูและนักเรียนได้รับ และ ด้านคุณลักษณะที่เกิดต่อครูนักวิจัย
2. ผลการพัฒนารูปแบบการพัฒนาการเรียนรู้ของครูผู้สอนโดยการพัฒนาความสามารถของครู พบว่า ครูผู้สอนต้องการให้มีการพัฒนา 4 ขั้น คือ ขั้นการวางแผนร่วมกัน ขั้นการอบรมปฏิบัติการ ขั้นการปฏิบัติการในห้องเรียน และขั้นการประเมินผลเพื่อพัฒนา
3. ผลการประเมินการพัฒนาความสามารถของครูผู้สอน สรุปได้ดังนี้ 1) ด้านปริมาณและรูปแบบการวิจัยครูสามารถทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนได้ครบทุกคนได้งานวิจัยของครู จำนวน 94 เรื่อง 2)ด้านคุณภาพของงานวิจัย สรุปได้ดังนี้ (1) ด้านรูปแบบการเขียนรายงานการพัฒนาความสามารถของครู ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน พบว่า มีคุณภาพในระดับ พอใช้ ( X-bar =2.18) (2) ด้านผลการพัฒนาสื่อและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ พบว่า มีคุณภาพระดับพอใช้ (X-bar =2.38) (3)ด้านการประยุกต์ใช้ผลการพัฒนาความสามารถของครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียน พบว่า มีคุณภาพในระดับต่ำ (X-bar = 1.59 ) ทั้ง 3 ด้าน (4) เมื่อสรุปผลการประเมินคุณภาพงานการพัฒนาความสามารถของครูผู้สอน มีคุณภาพในระดับพอใช้ ( X-bar=2.05)
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอนต่อการพัฒนาการเรียนรู้ โดยการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนอยู่ในระดับมาก (X-bar =4.43 ) และเมื่อสรุปรายด้าน ปรากฏผลดังนี้ 1)ด้านการมี ส่วนร่วมในการพัฒนาความสามารถของครู พบว่า โดยภาพรวมมีความพึงพอใจ ในระดับมาก (X-bar =4.38) โดยรายการที่มีความพึงพอใจมากที่สุด คือ การได้รับคำชี้แนะคำปรึกษา และแนะนำ (X-bar =4.82)
2 ) ด้านวิธีการพัฒนาครูในการพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ พบว่า โดยภาพรวมครูมีความพึงพอใจมากที่สุด ( X-bar=4.59) โดยรายการที่มีความพึงพอใจมากที่สุด คือ การประชุม ( X-bar=4.94)
3) ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้ พบว่า โดยภาพรวมครูมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ( X-bar=4.62) รายการที่ครูมีความพึงพอใจมากที่สุด คือการจัดหาตัวอย่างรายงานการพัฒนาความสามารถของครู (X-bar =4.88) 4) ด้านความสำเร็จของการพัฒนาความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้ พบว่า โดยภาพรวมมีความพึงพอใจ ในระดับมาก ( X-bar=4.12) รายการที่ครูมีความพึงพอใจมากที่สุด คือ องค์ความรู้ที่ได้รับจากการพัฒนาความสามารถของครู มีประโยชน์ต่อการพัฒนาการเรียนรู้ (X-bar =4.35) 5) เมื่อสรุปเป็นรายการ พบว่า รายการที่ครูมีความพึงพอใจมากที่สุดคือ การประชุมชี้แจง (X-bar =4.94) ‹ เผยแพร่ผลงาน : รูปแบบการพัฒนาความสามารถของครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญโดยใช้การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเร เผยแพร่ผลงาน : รายงานการประเมินโครงการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตโรงเรียนกำแพงแสนวิทยา ›
อังคาร, 16 กันยายน 2557
ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
คำสำคัญ: , สพฐ., แพร่, ความรู้, มัธยมศึกษา
No comments:
Post a Comment