Wednesday, September 17, 2014

เผยแพร่ผลงาน : รายงานการประเมินโครงการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตโรงเรียนกำแพงแสนวิทยา

ชื่อผลงานทางวิชาการ : รายงานการประเมินโครงการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตโรงเรียนกำแพงแสนวิทยา

ผู้ประเมิน : นายอาคม มากมีทรัพย์

ปีที่ประเมิน : 2557

บทคัดย่อ

การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิตของ

โครงการห้องสมุดมีชีวิต โรงเรียนกำแพงแสนวิทยา โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบโครงการ ครูผู้สอน และนักเรียนโรงเรียนกำแพงแสนวิทยา ปีการศึกษา 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ชนิด 5 ระดับ ตามวิธีของ ลิเคิร์ท(Likert) สถิติที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ เพื่อวิเคราะห์หาค่าสถิติเบื้องต้น ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติอ้างอิง Paired Sample T-Test สำหรับวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังจัดทำโครงการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต โรงเรียนกำแพงแสนวิทยา

ผลการประเมินโครงการ พบว่า

1. ด้านบริบท (Context) ครูมีความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านบริบทของโครงการโดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก

2. ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) ผู้รับผิดชอบโครงการมีความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการโดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก

3. ด้านกระบวนการ (Process) ผู้รับผิดชอบโครงการมีความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านกระบวนการดำเนินโครงการโดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก

4. ด้านผลผลิต (Product)

4.1 ครูมีพฤติกรรมในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ห้องสมุดมีชีวิตอยู่ในระดับปฏิบัติมาก

4.2 พฤติกรรมการเข้าใช้ห้องสมุดของนักเรียน ด้านความถี่ในการเข้าใช้ห้องสมุดโดยรวมแล้วนักเรียนเข้าใช้ห้องสมุด 3 – 4 วันต่อสัปดาห์ ด้านพฤติกรรมการใช้ห้องสมุดพบว่านักเรียนมีพฤติกรรมใช้ห้องสมุดเพื่อร่วมกิจกรรมนิทรรศการวิชาการมากที่สุด

4.3 ด้านความพึงพอใจ พบว่าทั้งครูและนักเรียนมีความพึงพอใจต่อโครงการพัฒนาห้องสมุด มีชีวิตอยู่ในระดับมาก

4.4 ด้านผลสัมฤทธิ์ของโครงการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตก่อนและหลังการจัดทำโครงการ พบว่า ก่อนจัดทำโครงการ ค่าเฉลี่ยสถิติการเข้าใช้ห้องสมุด เท่ากับ 1,393.80 หลังการจัดทำโครงการ ค่าเฉลี่ยของสถิติการเข้าใช้ห้องสมุด เท่ากับ 2,230.00 ซึ่งสูงกว่าก่อนจัดทำโครงการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีความสนใจรักการอ่านเพิ่มมากขึ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 60.00 เผยแพร่ผลงานวิชการ ›

จันทร์, 15 กันยายน 2557

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

คำสำคัญ: , สพฐ., แพร่

No comments:

Post a Comment