Wednesday, September 24, 2014

หน่วยงาน สพป. ๒๓ กันยายน ๒๕๕๗

สพป.ตราด จัดงาน "ความดีที่ทำไว้ จะตรึงใจชั่วนิรันดร์" แสดงมุทิตาจิตและยกย่องเชิดชูเกียรติ ผู้เกษียณอายุราชการ ประจำปี 2557

เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2557 นางสาวสุดคนึง ไชยสิทธิ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด เป็นประธาน จัดงาน "ความดีที่ทำไว้ จะตรึงใจชั่วนิรันดร์" ณ ห้องประชุมเลียดประถม อาคารเอกสินชล อ.เมืองตราด เพื่อแสดงมุทิตาจิตและยกย่องเชิดชูเกียรติบุคลากรในสังกัดที่เกษียณอายุราชการ ประจำปี 2557 ประกอบด้วยผู้อำนวยการกลุ่ม สพป.ตราด ผู้บริหารสถานศึกษา และข้าราชการครู รวมทั้งสิ้น 35 ราย เนื่องจากบุคคลเหล่านี้ล้วนเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนงานด้านการศึกษาของ สพป.ตราด ให้ก้าวไปอย่างมีคุณภาพ ในวันนี้..แม้ว่าทุกท่านจะอำลาชีวิตราชการ แต่ผลงานที่ได้ปฏิบัติราชการมาด้วยความวิริยะ อุตสาหะ ทุ่มเทแรงกาย แรงใจ ใช้ความรู้ ความสามารถร่วมกันพัฒนาการศึกษามาจนถึงวันที่เกษียณอายุราชการ ถือเป็นปูชนียบุคคลที่มีความสำคัญต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด และประเทศชาติ สมควรได้รับการยกย่องและเชิดชูเกียรติ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษารุ่นหลังต่อไป

สำหรับกิจกรรมภายในงานมีการบรรยายธรรมทำอย่างไรให้มีความสุขหลังเกษียณอายุราชการ โดยพระอาจารย์ศักดา สุนทโร วัดธรรมมาภิมุข (ไร่ป่า) การขับเสภา การฉายวีดีทัศน์รำลึกผู้เกษียณฯ การแสดงรำอวยพรของโรงเรียนอนุบาลตราด การขับร้องเพลงประสานเสียงของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลวัดคลองใหญ่ เพื่อเป็นการขอบคุณ อำลาเป็นกำลังใจแก่ผู้เกษียณอายุราชการ ในฐานะปูชนียบุคคลที่มีค่ายิ่งของ สพป.ตราด และเพื่อความทรงจำอันดีงามที่มีต่อกัน....ภาพ/ข่าว : prtratedu

ผยแพร่ผลงานทางวิชาการ รายงานการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนสองจ

ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

เรื่อง การบวกและการลบจำนวนสองจำนวนที่ผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 9

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

ผู้รายงาน นางรมย์ชลี นิวัฒนากูล

หน่วยงาน โรงเรียนบ้านหนองไผ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

ปีที่ทำการศึกษา ปีการศึกษา 2556 บทคัดย่อ การรายงานการพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนสองจำนวนที่ผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 9 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหนองไผ่ ที่มีต่อการเรียนคณิตศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนสองจำนวนที่ผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 9

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ผู้รายงานได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ สรุปผล และนำผลการรายงานไปใช้พัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพยิ่งขึ้นสรุปผลการรายงาน เรื่อง การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนสองจำนวนที่ผลลัพธ์และตัวตั้ง

ไม่เกิน 9 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4

พบว่า แบบฝึกเสริมทักษะ มีประสิทธิภาพ 93.63/85.38 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้ และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 48.46 และหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย

ร้อยละ 85.38 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นร้อยละ 36.92 นักเรียนมีความพึงพอใจ

ต่อการเรียนคณิตศาสตร์ โดยรวมคิดเป็นร้อยละ 95.53 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.77 แสดงว่า นักเรียน

มีความพึงพอใจต่อการเรียนคณิตศาสตร์ หลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะ อยู่ในระดับ มากที่สุด

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น สนองความต้องการของผู้เรียน การจัดการเรียนการสอนบรรลุตามความมุ่งหมายของหลักสูตร

และการรายงานครั้งนี้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์การรายงานที่กำหนดไว้ทุกประการ ประกาศโรงเรียนโพธิสารพิทยากร เรื่อง สอบราคาจ้างก่อสร้างโครงหลังคาเหล็ก มุงด้วยเมทัลชีท ›

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ เรื่อง รายงานการประเมินโครงการพัฒนางานบุคลากร ปีการศึกษา 2556

เรื่อง : รายงานการประเมินโครงการพัฒนางานบุคลากร ปีการศึกษา 2556

ชื่อผู้ประเมิน : นางสาวศรีภาวรรณ ไสโสภา บทคัดย่อ การประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ

1) เพื่อประเมินสภาพแวดล้อมด้านความสอดคล้องของโครงการพัฒนางานบุคลากรกับนโยบายการศึกษา

2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าด้านความเหมาะสม ความเพียงพอของทรัพยากร โครงการพัฒนางานบุคลากร

3) เพื่อประเมินกระบวนการ การปฏิบัติงานตามขั้นตอนการดำเนินงานของโครงการพัฒนางานบุคลากร

4) เพื่อประเมินผลผลิตโครงการพัฒนางานบุคลากร โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการ CIPP MODEL ของสตัฟเฟิลบีม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการ คือ ผู้บริหาร จำนวน 4 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน ครู จำนวน 60 คน นักเรียน จำนวน 291 คน และผู้ปกครอง จำนวน 291 คน ของโรงเรียนห้วยน้ำหอมวิทยาคาร ปีการศึกษา 2556 ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 5 ฉบับ มีค่าความเที่ยง

0.88-0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยกำหนดเกณฑ์การผ่านการประเมินไว้ที่ค่าเฉลี่ย ตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป

ผลการประเมิน พบว่า

1. การประเมินสภาพแวดล้อมด้านความสอดคล้องของโครงการพัฒนางานบุคลากรกับนโยบายการศึกษา พบว่า ผู้บริหาร และครู มีความคิดเห็นการประเมินสภาพแวดล้อมด้านความสอดคล้องของโครงการพัฒนางานบุคลากรกับนโยบายการศึกษาโดยรวมมีความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ แสดงว่าผลการประเมิน ผ่านเกณฑ์ เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ทุกข้อมีความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีความสอดคล้องสูงสุด ได้แก่ โครงการสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีความสอดคล้องต่ำสุด ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุประสงค์กับกิจกรรมของโครงการ มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก

2. การประเมินปัจจัยนำเข้าด้านความเหมาะสม ความเพียงพอของทรัพยากรโครงการพัฒนางานบุคลากร พบว่า ผู้บริหาร

คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู มีความคิดเห็นการประเมินปัจจัยนำเข้าด้านความเหมาะสม ความเพียงพอของทรัพยากรโครงการพัฒนางานบุคลากรโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ แสดงว่าผลการประเมิน ผ่านเกณฑ์ เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ทุกข้อมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีความเหมาะสมสูงสุด ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาส่งเสริมและให้การสนับสนุนโครงการ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีความเหมาะสมต่ำสุด คือ โรงเรียนได้รับงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในการดำเนินโครงการ โรงเรียนสนับสนุนงบประมาณอย่างเพียงพอ และ ผู้ดำเนินโครงการวางแผนการดำเนินงานเป็นระบบ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก

3. การประเมินกระบวนการ การปฏิบัติงานตามขั้นตอนการดำเนินงานของโครงการพัฒนางานบุคลากร พบว่า (1) ผู้บริหาร และครู มีความคิดเห็นการประเมินกระบวนการการปฏิบัติงานตามขั้นตอนการดำเนินงานของโครงการพัฒนางานบุคลากรโดยรวมการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ แสดงว่าผลการประเมิน ผ่านเกณฑ์ เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ทุกข้อมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีการปฏิบัติสูงสุด ได้แก่ กำหนดปฏิทินปฏิบัติงานเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเหมาะสมชัดเจน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ การนิเทศ กำกับ ติดตามการดำเนินโครงการตามขั้นตอนที่กำหนดอย่างต่อเนื่อง มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีการปฏิบัติต่ำสุด ได้แก่ การสำรวจ ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาโครงการพัฒนางานบุคลากร และ การปรับปรุงแก้ไขวิธีการปฏิบัติ เมื่อพบข้อบกพร่องขณะดำเนินการ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (2) ผู้บริหาร และครู มีความคิดเห็นการประเมินระดับการปฏิบัติโครงการพัฒนางานบุคลากรด้านกระบวนการการจัดกิจกรรม 5 กิจกรรม โดยรวมการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ แสดงว่าผลการประเมินผ่านเกณฑ์ เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ทุกข้อมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีการปฏิบัติสูงสุด ได้แก่ ส่งเสริมให้บุคลากรปฏิบัติหน้าที่ตามจรรยาบรรณวิชาชีพ ซึ่งอยู่ในกิจกรรมที่ 3 กิจกรรมพัฒนาบุคลากร มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีการปฏิบัติต่ำสุด คือ ผู้รับผิดชอบโครงการวางแผนประชุมทีมงาน ซึ่งอยู่ในกิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสร้างขวัญกำลังใจบุคลากร มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก

4. การประเมินผลผลิตการดำเนินโครงการพัฒนางานบุคลากร (เมื่อสิ้นสุดโครงการ)พบว่า (1) ผู้บริหาร และครู มีความคิดเห็นการประเมินผลผลิตการดำเนินโครงการพัฒนางานบุคลากร (เมื่อสิ้นสุดโครงการ) โดยรวมการปฏิบัติอยู่ในระดับมากซึ่งสูงกว่า

เกณฑ์ที่ตั้งไว้ แสดงว่าผลการประเมิน ผ่านเกณฑ์ เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ทุกข้อมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีการปฏิบัติสูงสุด ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนมีคุณภาพ ซึ่งอยู่ในจุดประสงค์ 4 เพื่อพัฒนาบุคลากรในการปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีการปฏิบัติต่ำสุด คือ มีอุปกรณ์เพียงพอในการดำเนินงาน ซึ่งอยู่ในจุดประสงค์ข้อ 1 เพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ที่ใช้ในการปรับปรุง-ซ่อมแซม วัสดุอุปกรณ์ที่ชำรุดและอุปกรณ์ที่จำเป็นในการพัฒนา และ บริการข้อมูลให้แก่ครู นักเรียน และ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นระบบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอยู่ในจุดประสงค์ข้อ 2 เพื่อพัฒนาระบบงานบุคลากรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (2) ผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษา ครู นักเรียน และผู้ปกครอง มีความคิดเห็นการประเมินความพึงพอใจต่อโครงการพัฒนางานบุคลากรโดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ แสดงว่าผลการประเมินผ่านเกณฑ์ เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ทุกข้อมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีความพึงพอใจสูงสุด ได้แก่ ครู ผู้บริหาร และบุคลากรในโรงเรียนมีคุณภาพ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีความพึงพอใจต่ำสุด คือ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ‹ ประกาศโรงเรียนโพธิสารพิทยากร เรื่อง สอบราคาซื้อกล้องวงจรปิด พร้อมติดตั้งอุปกรณ์ จำนวน 27 ชุด และติดตั้งท่อร้อยสายฯ เผยแพร่การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI และเทคนิค KWDL เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ กลุ่ม ›

23 กันยายน 2557

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

คำสำคัญ: , สพป., สพฐ., ตราด, แพร่, ความรู้, นครราชสีมา, คณิตศาสตร์, เสริมทักษะ, ประถมศึกษา, ประสิทธิภาพ

No comments:

Post a Comment