งานพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 222 รูป ในงานเฉลิมฉลอง 222 ปี อุบลราชธานี เมื่อวันพุธที่ 16 กรกฎาคม 2557 เวลา 05.00 - 15.59 น. ที่วัดหลวง วิหารพระเจ้าใหญ่องค์หลวง และลานคอนกรีตและท่าน้ำวัดหลวงริมแม่น้ำมูล ถนนพรหมเทพ ข้างตลาดใหญ่ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี พสกนิกรชาวจังหวัดอุบลราชธานีทุกหมู่เหล่า นำโดย เสริม ไชยณรงค์ ผู้ว่าราชการ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธานฆราวาส, พระราชธรรมโกศล เจ้าอาวาสวัดพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี ธรรมยุต เป็นประธานสงฆ์, พระครูวิลาสกิจจาทร เจ้าอาวาสวัดหลวง พร้อมคณะพระภิกษุ สามเณร 222 รูป, นายพรชัย โควสุรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี, นางสาวสมปรารถนา วิกรัยเจิดเจริญ นายกเทศมนตรีนครอุบลราชธานี, นายอนุชา ทองวงศ์สกุล ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดอุบลราชธานี, พลตรีวิษณุ ไตรภูมิ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 22, พ.อ.ประจวบ มูลประดับ รองผู้บัญชาการกรมทหารราบที่ 6, พ.อ.หญิงสุนทรี ไตรภูมิ ภริยาผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 22, นายธัชชัย สีสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี,น.อ.นภัสดล บวรพัฒนคุณ รองผู้บังคบการกองบิน 21,นางสาวจิราพร คกาทอง หัวหน้าศาลแขวงอุบลราชธานี, นายสัญญา สุขเสถียร, นายจันทรทัต สิทธิกำจร ผู้พิพากษา รองหัวหน้าศาลแขวงอุบลราชธานี, ผศ.ประชุม ผงผ่าน อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, รศ.ดร.นงนิตย์ ธีระวัฒนสุข อธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, ดร.สมชาย เหล่าสายเชื้อ อดีต ส.ว.อุบลราชธานีนางรำพูล ตันติวณิชชานนท์ ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี, ทันตแพทย์โมฮัล ศกภูเขียว ประธานชมรมสร้างสรรค์คนดีศรีอุบลฯ, นางอรนุช จินตะเวช รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี, นายยอดยุทธ เดชรุ่งเรือง ที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี, นายสุรกิจ มุขสมบัติ ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี, นายสุรพล สืบพรหม ผู้อำนวยการกองการศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี, น.พ.ทวีทัศน์ ตั้งรพีพากร ที่ปรึกษาประธานชมรมสร้างสรรค์คนดีศรีอุบลฯ, นายวลงกรณ์ บุญเต็ม รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29, ดร.ประยงค์ แก่นลา ผู้อำนวยการโรงเรียน เบ็ญจะมะมหาราช พร้อมคณะได้ร่วมกันจัดงานพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 222 รูป การปล่อยปลา 22,222 ตัว ลงแม่น้ำมูลและงานสมโภชเฉลิมฉลอง 222 ปี อุบลราชธานี การจัดงานทำบุญเมือง พิธีบวงสรวงอนุสาวรีย์ พระประทุม หรือ พระประทุมวรราชสุริยวงษ์ หรือ เจ้าคำผง เจ้าเมืองอุบลราชธานี คนแรกที่ได้สร้างคุณูปการ และประกอบคุณงามความดีต่อชาวอุบลราชธานีมาแต่ครั้งบรรพกาลอย่างใหญ่หลวงเรื่อยมา โดยในการนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวผู้พานพิภพกรุงเทพพระมหาณครศรีอยุทธยา มีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ตั้งให้ พระประทุม เปนพระประทุมวรราชสุริยวงษ ครองเมืองอุบลราชธานี ศรีวะนาไลประเทศราช เศกให้ ณ 2 + 8, 13 ค่ำ จุลศักราช 1,154 ปีชวดจัตวาศก ซึ่งตรงกับวันที่ 16 กรกฎาคม พุทธศักราช 2335 นับถึงวันนี้ เป็นวันมหามงคลสมัยแห่งการสถาปนาเมืองอุบลราชธานี เวียนมาบรรจบครบ 222 ปี ในวันพุธที่ 16 กรกฎาคม 2557 และพิธีมหาพุทธาภิเษก รูปหล่อเหมือนบูรพาจารย์ และพระกริ่งจอมอุบลฯ เพื่อเป็นการรำลึกถึงคุณงามความดี ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ เชิดชูเกียรติบรรพบุรุษ เกียรติประวัติและภูมิปัญญา ที่บ่งบอกถึงความเป็นปราชญ์ของบรรพบุรุษชาวจังหวัดอุบลราชธานี
ทั้งนี้ ชาวจังหวัดอุบลราชธานี ได้กำหนดและร่วมกันจัดงาน " เฉลิมฉลอง 222 ปี อุบลราชธานี " ขึ้น ในระหว่างวันที่ 11 –16 กรกฎาคม 2557 ควบคู่กับการจัดงานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา " 113 ปี งานประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี และงานเฉลิมฉลอง ครบรอบ 222 ปี อุบลราชธานี ประจำปี 2557 ระหว่างวันที่ 1 –16 กรกฎาคม 2557 " ที่บริเวณมณฑลพิธีศาลาจตุรมุข สนามทุ่งศรีเมือง ศาลหลักเมืองอุบลราชธานี วัดสุปัฏนารามวรวิหาร วัดศรีอุบลรัตนาราม วัดหลวง วิหารพระเจ้าใหญ่องค์หลวง ลานคอนกรีตและท่าน้ำ วัดหลวง ริมแม่น้ำมูล แห่งนี้ ซึ่งเป็นการจัดงานที่ยิ่งใหญ่ สมภาคภูมิของชาวอุบลราชธานี สำหรับ วัดหลวง (WatLoung) เมืองอุบลราชธานี แห่งนี้ เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองที่สำคัญเป็นวัดแรกของ เมืองอุบลราชธานี ก่อสร้างและสำเร็จขึ้นโดย พระปทุมวรราชสุริยวงษ์ (หรือ ท้าวคำผง หรือเจ้าคำผง เจ้าเมือง คนแรกของอุบลราชธานี) ในปีกุน พ.ศ. 2324 บริเวณริมฝั่งแม่น้ำมูล มีความสวยงาม โดยสร้างโบสถ์องค์พระประธาน กุฏิวิหารศาลาการเปรียญ หอไตร หอกลาง หอโปง หอระฆัง พร้อมบริบูรณ์ทุกอย่าง เป็นสังฆาวาส ที่สวยงาม และ "วัดหลวง" ยังเป็นสถานที่ถือน้ำพิพัฒน์สัตยาในสมัยแรกๆ โบสถ์องค์พระประธานวัดหลวง ที่สร้างได้อย่างสวยงามเป็นสง่าริมฝั่งแม่น้ำมูล แม่น้ำสายหลักสายสำคัญของเมืองอุบลราชธานี โดยในปีกุน พ.ศ. 2322 ก่อนการสถาปนานครอุบลราชธานี เมื่อเจ้าพระปทุมวรราชสุริยวงศ์ (ท้าวคำผง) อพยพมาจากดอนมดแดง และมาตั้งบ้านเมืองใหม่ที่ดงอู่ผึ้ง เมื่อก่อสร้างเมืองอุบลราชธานีที่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำมูล แล้วเสร็จ "เจ้าคำผง" ได้ดำริให้สร้างวัดตามโบราณราชประเพณี เพื่อเป็นศรีแก่นคร ใว้อบรมศีลธรรมจรรยา เป็นที่สืบทอดพระพุทธศาสนา เป็นสถานที่เพ็ญกุศลแก่ประชาชนทั่วไป และให้เป็นที่พำนักของพระสงฆ์ที่อพยพมาจากนครเวียงจันทน์ ชื่อวัดหลวง มีที่มาจากการตั้งชื่อตาม "เจ้าคำผง" ซึ่งชาวเมืองเรียกกันว่า เจ้าองค์หลวง หรืออาชญาหลวง วัดนี้อยู่ติดกับคุ้มของเจ้าคำผงหรือ "คุ้มเจ้าหลวง" (เป็นพื้นที่ที่เรียกกันว่าตลาดราชพัสดุ ในปัจจุบัน) มีเจ้าอาวาสวัดรูปแรกได้แก่ "พระมหาราชครูหอแก้ว" (หลานชายพระปทุมวรราชสุริยวงศ์) อุปสมบท ที่วัดหลวง เป็นเจ้าคณะใหญ่ประมุขสงฆ์ ภายหลังเมื่อท่านมรณภาพแล้วชาวเมืองอุบลฯ ได้ก่อสร้างเจดีย์บรรจุอัฐิท่านไว้ในวัดหลวง นอกจากนี้ในช่วงที่วัดหลวงได้ก่อสร้างเสร็จใหม่ได้นิมนต์ "พระธรรมโชติวงศา" ซึ่งเป็น พระมหาเถระและพระภิกษุสามเณร ให้มาอยู่จำพรรษาเพื่อสนองศรัทธาของประชาชน โดยท่านได้มาจำพรรษาอยู่ระยะหนึ่ง ก่อนที่จะไปสร้าง "วัดมหาวานาราม" หรือ "วัดป่าใหญ่" ขึ้นอีกแห่งในเวลาต่อมา ในส่วนของจุดเด่นและปูชนียวัตถุที่สำคัญ คือ พระเจ้าใหญ่องค์หลวง เป็นพระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่งของเมืองอุบลราชธานี เป็นพระพุทธรูปปางเรือนแก้ว (ปางมารวิชัยแต่มีเรือนแก้วครอบอยู่คล้ายกับพระพุทธชินราช) เป็นพระพุทธรูปที่สง่างามต้องด้วยพุทธลักษณะเป็น "เบ็ญจลักษณะ" ห้าคืบพระสุคต พระเจ้าใหญ่องค์หลวง เป็นพระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่งของเมืองอุบลราชธานี - วิหารพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) ปัจจุบันทางวัดได้สร้างวิหารขึ้นใหม่หลังหนึ่ง คือวิหารพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) เป็นวิหารขนาดใหญ่คล้ายกับ วัดบูรพาราม แต่มีขนาดเล็กกว่า ลักษณะคล้ายสิมหลังเดิมที่ถูกรื้อไป แต่ใหญ่กว่าและสวยงามกว่า สร้างขึ้นเพื่อทดแทนสิมหลังเดิมที่ถูกรื้อลงไป - อัฐิของพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) ซึ่งเป็นผู้ที่ก่อตั้งเมืองอุบลราชธานีและเป็นเจ้าเมืองอุบลราชธานีคนแรก โดยทางวัดได้จัดเก็บไว้ในวิหารใหญ่ เพื่อให้ชาวอุบลและประชาชนผู้ที่สนใจได้มีโอกาสเข้าไปกราบไหว้ - โบสถ์หรือสิมวัดหลวงเก่า ในอดีตมีโบสถ์ที่สวยงามสร้างโดยช่างชาวเวียงจันทน์ ศิลปะหลายอย่างสร้างตามแบบศิลปะหลวงพระบางทุกประการ (คล้ายคลึงกับวัดเชียงทองแห่งนครหลวงพระบางของประเทศลาว) แต่น่าเสียดายที่โบสถ์หลังดังกล่าวได้ถูกรื้อไปแล้ว และได้สร้างโบสถ์หลังใหม่แบบเมืองหลวงขึ้นแทน หลงเหลือเพียงรูปถ่ายไว้บอกเล่าอดีตเท่านั้น - ภาพโบสถ์ที่สวยงามในอดีต สร้างโดยช่างชาวเวียงจันทน์ สร้างตามแบบศิลปะหลวงพระบาง - ซุ้มประตูวัดหลวง ใน พ.ศ. 2503 ได้เกิดไฟไหม้เมืองอุบลฯ ครั้งใหญ่ ทำให้ตึกแถวบริเวณหน้าวัดหลวงถูกไฟไหม้เสียหายหมด ภายหลังได้สร้างตึกแถว 2 ชั้น 25 ห้อง เป็นตึกคอนกรีตเสริมเหล็กแทนซุ้มประตูประตูวัดหลวงของเดิมซึ่งเสร็จเรียบร้อยเมื่อปี 2506 ริมฝั่งแม่น้ำมูล ท่าน้ำวัดหลวง ที่สวยงาม ข้างตลาดใหญ่ ถนนพรหมเทพ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบันมี พระครูวิลาสกิจจาทร เป็นเจ้าอาวาสวัดหลวง ........................... นายศักดิ์ระพี สีมาวันนักประชาสัมพันธ์ชำนาญการพิเศษหัวหน้ากลุ่มงานประชาสัมพันธ์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29
โทรศัพท์ 045 – 422186, 045 - 323910, 081 – 265 7046, โทรสาร 045 – 422185
www.secondary29.go.th e-mail:neenoy11@gmail.com FACEBOOK.COMศักดิ์ระพี สีมาวัน
line:0812657046บันทึกภาพ / รายงานข่าว วันพุธ– วันพฤหัสบดีที่ 16 - 17 กรกฎาคม 2557
(ประมวลภาพกิจกรรมส่วนใหญ่ จะจัดส่งและขอเชิญติดตามหรือดาวน์โหลดเพิ่มเติม
ได้ที่ e-mail:neenoy11@gmail.com และหรือ FACEBOOK.COMศักดิ์ระพี สีมาวัน)
17 กรกฎาคม 2557
ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
คำสำคัญ: , สพฐ., แพร่, ประเพณี, มัธยมศึกษา, มหาวิทยาลัย, อุบลราชธานี, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
No comments:
Post a Comment