Monday, June 30, 2014

การพัฒนาการคิดวิเคราะห์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน รายวิชาเคมี ชั้น ม.๖

ชื่อเรื่อง การพัฒนาการคิดวิเคราะห์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ด้วยการเรียนรู้แบบวัฏจักร 7 ขั้น และสื่อประสม เรื่อง ไฟฟ้าเคมี

รายวิชาเคมีเพิ่มเติม 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

ผู้วิจัย นายสมจิต เมืองนาม ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ

สถานศึกษา โรงเรียนบรบือ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม สพม. 26

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพ หาประสิทธิผล หาดัชนีประสิทธิผล เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ศึกษาการคิดวิเคราะห์ และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน หลังจากการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักร 7 ขั้น และสื่อประสมเรื่อง ไฟฟ้าเคมี รายวิชาเคมีเพิ่มเติม 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนโรงเรียนบรบือ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม ปีการศึกษา 2556 จำนวน 42 คน ที่เลือกแบบเจาะจงห้องที่คละความสามารถเท่ากัน เครื่องมือสำหรับการวิจัย คือ (1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักร 7 ขั้น จำนวน 11 แผน เวลาเรียน 22 ชั่วโมง (2) สื่อประสม คือ แบบฝึกทักษะ 11 ชุด และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 11 เรื่อง (3) แบบทดสอบย่อยเรื่องละ 10 ข้อ และแบบทดสอบประจำบท 40 ข้อ (4) แบบวัดความสามารถการคิดวิเคราะห์ 33 ข้อ และ (5) แบบวัดเจตคติทางวิทยาศาสตร์33 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าประสิทธิภาพ ค่าดัชนีประสิทธิผล ค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t–test ผลการศึกษาปรากฏ ดังนี้

1. การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักร 7 ขั้น และสื่อประสม เรื่อง ไฟฟ้าเคมี มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.13/83.87 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80

2. การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักร 7 ขั้น และสื่อประสม มีประสิทธิผลหลังเรียนเท่ากับ 6.36 ตรงตามเกณฑ์ 10 นั่นคือ นักเรียนมีการเรียนรู้ร่วมกัน อยู่ในระดับดี

3. การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักร 7 ขั้น และสื่อประสม มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 72.47 ตรงตามเกณฑ์ 70 หรืออยู่ในระดับดี แสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 72.47

4. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักร 7 ขั้น และสื่อประสม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมเฉลี่ยและทั้ง 11 เรื่อง หลังเรียนสูงกว่าก่อนการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

ที่ระดับ .01

5. นักเรียนที่ได้รับพัฒนา มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี และผลการประเมินคิดวิเคราะห์อยู่ในระดับดีที่สุด มีจำนวนมากที่สุด ร้อยละ 57.14

6. นักเรียนที่ได้รับพัฒนา มีเจตคติทางวิทยาศาสตร์โดยภาพรวมเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก และผลการประเมินเจตคติทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมาก มีจำนวนมากที่สุด ร้อยละ 59.52 ประกาศประกวดราคาจ้างก่อสร้างอาคารเรียนและรั้วโรงเรียนอนุบาลวังน้ำเย็นมิตรภาพที่ 179ครั้งที่2 ›

พุธ, 25 มิถุนายน 2557

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

คำสำคัญ: , สพฐ., มหาสารคาม, มัธยมศึกษา, ประสิทธิภาพ, วิทยาศาสตร์

No comments:

Post a Comment