ในสภาวการณ์ปัจจุบัน สถานการณ์ภัยทางธรรมชาติได้เกิดขึ้นทั่วทุกภูมิภาคทุกมุมโลก และนับวันจะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นโดยลำดับ สร้างความเสียหายต่อมนุษยชาติโดยเฉพาะการเกิดอุทกภัยเมื่อปลายปี พ.ศ.2554 ประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติครั้งนี้เกือบทุกพื้นที่ทั่วประเทศ น้ำท่วมขังเป็นวงกว้างและเป็นเวลานาน ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินมากมายใน หลายพื้นที่ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ในด้านเศรษฐกิจได้รับความเสียหายคิดเป็นมูลค่าหลายแสนล้านบาท ส่วนด้านสังคมประชาชนจำนวนหนึ่งเสียชีวิต ทรัพย์สินบ้านเรือนเสียหายเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้รัฐต้องใช้งบประมาณในการแก้ไขปัญหา ดูแลรักษาสุขภาพลานามัยของประชาชน ฟื้นฟูบำรุงรักษาสิ่งแวดล้อม และปรับปรุงซ่อมแซมบ้านเรือนอาคารสถานที่ของประชาชนและของส่วนราชการ
สำหรับหน่วยงานทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งประกอบด้วยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 225 เขต โรงเรียน จำนวน 30,377 โรงเรียน กระจายอยู่ครบทุกจังหวัด ก็ได้รับความเสียหายอย่างมากจากอุทกภัยเช่นเดียวกัน มีสำนักงานเขตพื้นที่ และสถานศึกษา ที่ประสบอุทกภัย 51 จังหวัด 111 เขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 6,904 โรงเรียน พื้นที่เหล่านี้ประสบอุทกภัยน้ำท่วม ส่งผล ให้อาคารเรียน อาคารประกอบและสิ่งก่อสร้างอื่น วัสดุอุปกรณ์การศึกษาได้รับ ความเสียหายจากอุทกภัย จนไม่สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับนักเรียน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สพป.นครราชสีมา เขต ๗ จึงได้จัดทำโครงการป้องกันอุบัติภัยอันเนื่องมาจากอุทกภัยสำหรับสถานศึกษาในสังกัดที่ได้รับผลกระทบ และประสบปัญหาอุทกภัยซ้ำซากและอยู่ในขอบเขตที่สามารถป้องกันได้ เพื่อลดความเสียหายต่อทรัพย์สินของทางราชการรวมทั้งอาคารสถานที่ สภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ ด้วยการร่วมคิดและร่วมกันกำหนดนโยบายและแนวทางการจัดทำระบบป้องกันอุทกภัย และรายงาน สพฐ. เพื่อสนับสนุนด้านงบประมาณต่อไป
fanpage เครือข่ายประชาสัมพันธ์ สพป.นม.7 : https://www.facebook.com/media/set/?set=a.276890149156656.1073741901.194...
ภาพ/ข่าว : เรือนน้อย เสียงสนั่น นักประชาสัมพันธ์ชำนาญการพิเศษ
02 มิถุนายน 2557
ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
คำสำคัญ: , สพฐ., สพป., นครราชสีมา, ประสิทธิภาพ
No comments:
Post a Comment